"การแพ้อาหารในเด็ก" เรื่องไม่เล็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมพร้อม
การแพ้อาหารในเด็ก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในช่วงเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 5 ขวบ การแพ้อาหารเป็นสภาวะอาการที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองผิดปกติต่อโปรตีนในสารอาหารที่เข้าสู่ร่างกาย จากนั้นเกิดการปล่อยสารเคมีในร่างกายที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น ผื่นแพ้ อาการบวม แสบร้อน และอาการอื่น ๆ ขึ้นกับระดับความรุนแรงของการแพ้และสารอาหารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจมีการแพ้อาหารหลายชนิดพร้อมกันหรือแพ้อาหารเพียงชนิดเดียวก็เป็นได้ โดยอาจเป็นอาการแพ้ชั่วคราวหรือเรื้อรัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของเด็กได้
พญ.เพลินพิศ ลิขสิทธิพันธุ์ กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน กล่าวว่า ความถูกต้องของข้อมูลการแพ้อาหารมีความแตกต่างกันไป คนส่วนใหญ่ที่คิดว่ามีอาการแพ้อาหารมีประมาณ 40% แต่จริงๆ แล้วผู้ที่มีการแพ้อาหารที่ผ่านการพิสูจน์ทางการแพทย์มีประมาณ 4% เท่านั้น จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ที่แพ้อาหารจริงๆ มีอัตราส่วนที่ต่ำกว่าที่คิดไว้ในประชากรทั่วไป ดังนั้นผู้ที่สงสัยว่ามีอาการแพ้อาหาร จึงควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจและคำแนะนำที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายอย่างครบถ้วน ไม่ได้เสียโอกาสเพราะคิดไปเองว่าเด็กมีอาการแพ้อาหารชนิดนั้นๆ
อาการแพ้อาหาร มีกี่แบบ
6 อาหารยอดฮิตที่เด็กแพ้
1) นมและผลิตภัณฑ์นม 2) ไข่ 3) แป้งสาลี 4) ถั่วเหลือง 5) ถั่วลิสง 6) อาหารทะเล
แพ้อาหารเป็นแล้วหายได้ไหม?
เด็กที่มีอาการแพ้นมประมาณ 50 – 60% หายแพ้เมื่ออายุ 5 ปี เด็กที่แพ้ไข่ประมาณ 50% หายแพ้เมื่ออายุ 6 ปี เด็กที่แพ้แป้งสาลีประมาณ 50% หายแพ้เมื่ออายุ 7 ปี แต่เด็กมักไม่หายแพ้ในกรณีที่แพ้ถั่ว และอาหารทะเล
การป้องกัน
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ควรทานอาหารตามปกติ ให้มีความสมดุล ไม่มากหรือน้อยเกินไป เมื่อลูกน้อยคลอดออกมาแล้วให้ทานนม และให้เริ่มทานอาหารตามวัย ตั้งแต่อายุ 4 – 6 เดือน โดยที่ลูกไม่ควรงดทานอาหารใดๆ และผู้ปกครองควรสังเกตอาการของลูก หากมีอาการแพ้อาหารทั้งแบบเฉียบพลัน หรือไม่เฉียบพลัน ให้รีบมาปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
การวินิจฉัย
อาศัยอาการทางคลินิก และการตรวจร่างกาย ในบางรายสามารถทำการทดสอบการแพ้อาหารทางผิวหนัง (Skin Test) หรือตรวจเลือดได้ (Specific IgE)
การรักษา การแพ้อาหารในเด็ก
ผู้ปกครองควรพาลูกมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมซึ่งขึ้นกับอาการแพ้ของเด็กแต่ละคน โดยแพทย์จะแนะนำให้หาว่าลูกแพ้อาหารอะไร และหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ ดูว่ามีแพ้ข้ามกลุ่มไหม โดยเฉพาะในเด็กก่อนวัยเรียน ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาหารที่แพ้ และแจ้งกับคุณครูประจำชั้นเพื่อการดูแลที่ถูกต้อง โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กครึ่งนึงจะหายจากการแพ้อาหารก่อนไปโรงเรียน จะมีอีกครึ่งหนึ่งที่ยังไม่หายและต้องไปโรงเรียน ดังนั้นควรมีการเตรียมตัวให้พร้อม เช่น ผู้ปกครองเตรียมป้ายแพ้อาหารให้เด็ก (Allergy Labels) ติดที่เสื้อหรือกล่องอาหาร กรณีมีการจัดงานวันเกิดที่โรงเรียน คุณครูควรระมัดระวัง สอบถามถึงส่วนประกอบของอาหารหรือเค้กที่ผู้ปกครองเตรียมมา ซึ่งมักจะมีส่วนประกอบที่เด็กแพ้ เช่น นม ไข่ แป้งสาลี เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กที่แพ้ร่วมรับประทาน
ตัวอย่างการรักษา

- แพ้อาหารแบบเฉียบพลัน และแพ้รุนแรง
- แพ้อาหารแบบเฉียบพลัน แต่แพ้ไม่รุนแรง
- แพ้อาหารแบบไม่เฉียบพลัน



- แพ้นมวัว กินนมอะไรดี ถ้าลูกแพ้นมวัว สามารถให้ลูกทานนมแม่ได้ (แม่อาจต้องงดนมและผลิตภัณฑ์ของนม) หรือทานนมสูตรพิเศษ ทั้งนี้เด็กบางคนเมื่อโตขึ้นจะสามารถเริ่มกินผลิตภัณฑ์ที่มีนมวัวที่ผ่านความร้อนสูงได้ เช่น เค้ก คุ้กกี้ แต่ยังกินนมสดไม่ได้
- แพ้ถั่วต่างๆ ถั่วเมล็ดเดี่ยว (พิชาชิโอ แอลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์) ถั่วหลายเมล็ด (ถั่วลิสง ถั่วเหลือง) โดยเด็กที่แพ้ถั่วเมล็ดเดี่ยวจะแพ้ข้ามถั่วต่างๆ ทั้งแบบเมล็ดเดี่ยวและเป็นฝัก ทั้งนี้สำหรับเด็กที่แพ้ถั่วลิสงมักไม่แพ้ถั่วเหลือง และถ้าแพ้ถั่วเหลืองมักไม่แพ้ถั่วลิสง แต่ถ้าแพ้ถั่วลิสงจะแพ้ถั่วเมล็ดเดี่ยวๆ ด้วย