คู่มือตรวจภายในสำหรับคุณผู้หญิง
เพราะความอายนี่เองทำให้ผู้หญิงไม่น้อยไม่กล้าไปพบแพทย์เพื่อ “ตรวจภายใน” เพราะการตรวจดังกล่าวต้องเปลือยส่วนที่เป็นส่วนตัวมากๆ ซึ่งไม่อยากให้ใครเห็น นอกจากนี้ยังกลัวเจ็บ และกลัวในอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะในรายที่ยังเป็นสาวบริสุทธิ์ ไม่เคยแต่งงานหรือคลอดลูกมาก่อน
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ
- ในจำนวนนั้นอาจมีหลายรายที่มีความผิดปกติของอวัยวะภายในเกิดขึ้น ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์
- ทำให้คนแต่งงานแล้วมีลูกยาก หรือมีโรคติดเชื้อบางอย่างที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางเพศ
- ที่ร้ายแรงก็คืออาจมีไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีโอกาสพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งต่อไปทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูกได้ โดยสาวไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกมากอันดับ 1
โรคที่ต้องตรวจภายใน
สำหรับผู้หญิงมีโรคมากมายที่เกิดขึ้นจากความเกี่ยวข้องของอวัยวะทั้ง 7 ได้แก่- รังไข่ (Ovary)
- ท่อนำไข่ (Fallopian tube)
- มดลูก (Uterus)
- เยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium)
- ปากมดลูก (Cervix)
- ช่องคลอด (Vagina)
- อวัยวะสืบพันธุ์ส่วนนอก (Genital Organs Outside)
อวัยวะภายในที่เกี่ยวพันกับโรคต่างๆ อาทิ
- รังไข่ : มีโอกาสเป็นมะเร็งในรังไข่ได้ ทั้งในวัยเด็ก วัยเจริญพันธุ์ วัยกลางคน และวัยสูงอายุ
- มดลูก : มีโอกาสเป็นเนื้องอกในมดลูก ซึ่งมีตั้งแต่เนื้องอกธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็ง โดยพบมากราว 60% ของผู้หญิงทั่วไป แต่อยูที่ขนาดว่าโตหรือไม่ ถ้าโตหรือออกอาการผิดปกติก็ต้องรักษา นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อมดลูกที่พัฒนาเป็นเนื้องอกที่เป็นมะเร็งได้อีก
- เยื่อบุโพรงมดลูกข้างใน : ในกรณีที่เยื่อบุโพรงมดลูกข้างในเจริญมาก หนาตัวผิดปกติ ก็จะทำให้เกิดเลือดออกผิดปกติที่มาพร้อมกับประจำเดือน หรืออาจพัฒนาเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- ปากมดลูก : เนื้องอกธรรมดาที่ปากมดลูกไม่น่ากลัวเท่ากับเป็นมะเร็งที่ปากมดลูก
เหตุผลที่ต้องตรวจ
มะเร็งที่พบมากในผู้หญิง คือมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะพบได้ก็ต่อเมื่อต้องตรวจภายในเท่านั้น นอกจากนี้ยังได้รับผลพวงอื่นๆ เกี่ยวกับระบบอวัยวะภายใน เช่น มดลูก รังไข่ ฯลฯ โดยปัญหาที่พบมากคือ ปวดท้องประจำเดือนเรื้อรัง มีลูกยาก หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตถ้าเป็นมะเร็ง คุณหมอบอกว่า อวัยวะเหล่านี้ไม่เหมือนอวัยวะอื่นๆ ที่เป็นระบบปิด ซึ่งมีปัจจัยรบกวนจากภายนอกน้อย แต่อวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงมีปัจจัยภายนอกเข้าไปรบกวน นั่นคือการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้มีการขยายตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายโดยเฉพาะเมื่อมีลูก ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นอะไรได้มาก “ถ้าไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ โอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกเกือบจะเป็นศูนย์ แต่ยังมีรังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกที่อกาจเกิดความผิดปกติขึ้นได้ ดังนั้น นี่คือประโยชน์ของการตรวจภายใน” คุณหมอบอกเตรียมตัวอย่างไร
คุณหมอแนะนำว่า แทบไม่ต้องเตรียมตัวอะไร เว้นเสียแต่ในระหว่างที่มีรอบเดือนไม่ควรมาตรวจ โดยก่อนตรวจแพทย์จะซักถามประวัติ เช่น ประวัติความสัมพันธ์ทางเพศหรือแต่งงานหรือยัง มีลูกหรือยัง เพื่อจะได้เลือกวิธีการตรวจรวมทั้งเลือกใช้ขนาดเครื่องมือแพทย์ที่เหมาะสม ในกรณีที่ไม่เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศมาก่อนเลย เครื่องมือแพทย์ที่ใช้จะมีขนาดเล็กกว่า เป็นต้น และใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที ในการตรวจแต่ละครั้ง โดยแพทย์จะส่งเซลล์ที่ได้ไปยังห้องปฏิบัติการหรือส่งต่อไปอัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความผิดปกติของแต่ละคนตรวจอย่างไร
สำหรับวิธีการตรวจแพทย์จะให้ผู้ป่วยเปลี่ยนไปสวมชุดคลุม แล้วใช้เครื่องมือแพทย์ลักษณะคล้ายปากเป็ดขนาดเล็กๆ แบนๆ สองอัน สอดเบาๆ เข้าไปในช่องคลอด เพื่อเปิดขยายออกให้เห็นปากมดลูก จากนั้นจะใช้เครื่องมือเข้าไปเก็บเซลล์ที่ปากมดลูก จากนั้นจะใช้เครื่องมือเข้าไปเก็บเซลล์ที่ปากมดลูกไปตรวจหาความผิดปกติต่อไป โดยทุกขั้นตอนจะมีพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงอยู่ในห้องด้วย “ในรายที่แต่งงานมีลูกแล้วแพทย์อาจใช้นิ้วสอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อกระดกมดลูกขึ้น อีกมือหนึ่งคลำที่หน้าท้องเพื่อจะทราบว่ามดลูกโตไหมและมีความเจ็บปวดตรงไหนหรือเปล่า เพราะบางโรค เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ บางทียังไม่ถึงขั้นเป็นซีสต์ใหญ่ แต่คนไข้มีอาการปวดมาก เพราะโรคไปเกาะบริเวณเส้นประสาทหรือบริเวณด้านหลังมดลูกที่มีการเคลื่อนไหว เช่น รอยต่อระหว่างมดลูกกับลำไส้ใหญ่ เวลาถ่ายแล้วจะปวดมากหรือเวลามีประจำเดือนจะปวดเหมือนอยากถ่ายอุจจาระหรือท้องเสีย การตรวจวิธีนั้จะทำให้รู้ว่ามีเม็ด มีตุ่ม หรือเจ็บปวดเกิดขึ้นเมื่อไม่” คุณหมอบอกวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
โรคภายในของผู้หญิงที่พบบ่อยมาก ได้แก่ โรคตกขาว เลือดออกผิดปกติ ประจำเดือนมาไม่ตรงหรือมาน้อย ปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อยและเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งมีผลมาจากผู้หญิงสมัยนี้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป คือแต่งานช้าลง มีลูกตอนอายุมาก ทำให้รอบประจำเดือนมีมากขึ้น ไม่เหมือนสมัยก่อนที่อายุ 15-16 ปี ก็ตั้งท้องแล้ว ทำให้รังไข่มีโอกาสได้หยุดทำงาน ยิ่งในรายที่มีลูกหัวปีท้ายปี รังไข่ก็แทบจะไม่ได้ทำงานเลย เนื่องจากโรคเหล่านี้เกี่ยวพันกับการทำงานของรังไข่นั่นเอง ส่วนโรคตกขาวที่เป็นกันมาก หมายถึงการมีมูกออกมาจากช่องคลอด ปกติจะมีอยู่แล้ว เพราะเป็นน้ำหล่อลื่น แต่หากเกิดอักเสบจากการติดเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อพยาธิ ซึ่งไม่ถือว่าน่ากลัว แต่น่ารำคาญ เช่น ทำให้คัน มีกลิ่น มีมูกเยอะเกินไป อะไรก็ตามที่เคยเป็นปกติของชีวิตแล้วไม่เป็นไปตามนั้นก็ถือว่าผิดปกติ อย่างตกขาวที่มีอาการคัน มีกลิ่น หรือมีมูกเยอะเกินไปถือว่าผิดปกติแล้ว ซึ่งควรจะมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่อไป” อย่าอาย อย่ากลัว อย่างเกร็ง เป็นคำแนะนำง่ายๆ ที่คุณหมอบอกทิ้งท้าย เพราะค่านิยมผู้หญิงไทยมักอายที่จะไปตรวจภายใน นอกจากนี้ยังรู้สึกกลัว ทำให้เกิดอาการเกร็ง ซึ่งเป็นอุปสรรค คือการตรวจของแพทย์แต่ทางที่ดีเพื่อสุขภาพที่ดีควรใส่ใจในเรื่อนี้กันด้วยใช้ชีวิตให้ห่างจากโรค
การใช้ชีวิตแทบจะไม่เกี่ยว แต่ดูแลได้ด้วยการ- ไม่สูบบุหรี่ เพราะสารทาร์และนิโคตินจะเข้าไปในกระแสเลือด
- รักษาสุขอนามัยอย่างพอดี
- ไม่เปลี่ยนคู่นอน
- ไม่ใช้แผ่นอนามัยแบบแผ่น โดยเฉพาะชนิดมีน้ำหอม เพราะแผ่นอนามัยจะดูดซึมความชื้นไปเก็บสะสม แต่อากาศไม่ผ่านทำให้หมักหมมเชื้อโรคที่เจริญเติบโตในที่ไม่มีโอกาสทั้งหลายจะชอบ เช่น เชื้อรา ทำให้เป็นเชื้อรากันมาก ช่วงมีประจำเดือนควรเปลี่ยนผ้าอนามัยให้บ่อย อย่างน้อยทุก 3 ชั่วโมง