รู้ให้ทัน! วัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อผู้ใหญ่และผู้สูงวัย
หลายคนอาจเข้าใจว่าวัคซีนจำเป็นสำหรับเด็ก แต่ความจริงแล้วการได้รับวัคซีนป้องกันโรคในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่กำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัว การป้องกันก่อนเกิดโรคถือเป็นหัวใจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี ทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น

คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันสำหรับผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

อายุ 19 – 26 ปี

วัคซีนแนะนำ
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีด 1 เข็ม ทุกปี
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ฉีด 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนบาดทะยัก – คอตีบ ฉีดกระตุ้น 1 เข็มด้วย Td ทุก 10 ปี (เช่น อายุ 20, 30, 40… ปี)
  • วัคซีนอีสุกอีใส ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนหัด – คางทูม – หัดเยอรมัน ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
  • วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก [แนะนำสำหรับผู้หญิง] ฉีด 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 หรือ 0, 2 และ 6
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6 – 12 เดือน
วัคซีนที่อาจพิจารณาฉีด
  • วัคซีนบาดทะยัก – คอตีบ – ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ ให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคเพียงพอ เพื่อลดอุบัติการณ์ของโรคไอกรนในผู้ใหญ่ และส่งผลในการลดการแพร่เชื้อจากผู้ใหญ่สู่เด็กเล็ก ซึ่งเด็กเล็กมีอัตราป่วยตายสูงเมื่อป่วยเป็นโรค
  • วัคซีน HPV ป้องกันหูดหงอนไก่ มะเร็งองคชาต และมะเร็งทวารหนัก [พิจารณาฉีดสำหรับผู้ชาย] ฉีด 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 หรือ 0, 2 และ 6
  • วัคซีนไข้เลือดออก [สำหรับผู้ที่มีประวัติเป็นไข้เลือดออกมาก่อน] ฉีด 3 เข็ม เดือนที่ 0, 6 และ 12
 

อายุ 27 – 64 ปี

วัคซีนแนะนำ
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีด 1 เข็ม ทุกปี
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ฉีด 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนบาดทะยัก – คอตีบ ฉีดกระตุ้น 1 เข็มด้วย Td ทุก 10 ปี (เช่น อายุ 20, 30, 40…ปี)
  • วัคซีนอีสุกอีใส ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนหัด – คางทูม – หัดเยอรมัน [อายุ ≤ 40 ปี] 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
วัคซีนที่อาจพิจารณาฉีด
  • วัคซีนบาดทะยัก – คอตีบ – ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ ให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคเพียงพอ เพื่อลดอุบัติการณ์ของโรคไอกรนในผู้ใหญ่ และส่งผลในการลดการแพร่เชื้อจากผู้ใหญ่สู่เด็กเล็ก ซึ่งเด็กเล็กมีอัตราป่วยตายสูงเมื่อป่วยเป็นโรค
  • วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก [อาจพิจารณาฉีดแก่ผู้หญิงที่อายุมากว่า 26 ปี เพราะพบว่ายังได้ประโยชน์อยู่] ฉีด 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 หรือ 0, 2 และ 6
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6 – 12 เดือน (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนไข้เลือดออก [อายุ ≤ 45 ปี] ฉีด 3 เข็ม เดือนที่ 0, 6 และ 12
  • วัคซีนงูสวัด [อายุ ≥ 60 ปี] ฉีด 1 เข็ม
 

อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

วัคซีนแนะนำ
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีด 1 เข็ม ทุกปี
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ฉีด 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนบาดทะยัก – คอตีบ ฉีดกระตุ้น 1 เข็มด้วย Td ทุก 10 ปี (เช่น อายุ 20, 30, 40…ปี)
  • วัคซีนอีสุกอีใส ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีน IPD นิวโมคอคคัส ชนิดโพลีแซคคาไรด์ (PPV – 23 vaccine) ฉีด 1 เข็ม
  • วัคซีน IPD นิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต (PCV – 13 vaccine) ฉีด 1 เข็ม
วัคซีนที่อาจพิจารณาฉีด
  • วัคซีนบาดทะยัก – คอตีบ – ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ ให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคเพียงพอ เพื่อลดอุบัติการณ์ของโรคไอกรนในผู้ใหญ่ และส่งผลในการลดการแพร่เชื้อจากผู้ใหญ่สู่เด็กเล็ก ซึ่งเด็กเล็กมีอัตราป่วยตายสูงเมื่อป่วยเป็นโรค
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6 – 12 เดือน (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนงูสวัด ฉีด 1 เข็ม
 

หญิงตั้งครรภ์

วัคซีนแนะนำ
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีด 1 เข็ม ในอายุครรภ์ไตรมาสที่ 2 หรือ 3
  • วัคซีนบาดทะยัก – คอตีบ ให้วัคซีน Td 1 – 2 เข็ม [ในกรณีที่เคยได้รับวัคซีน TT หรือ Td มาก่อน]
  • 3 เข็ม ห่างกัน 0, 1 และ 6 เดือน หากไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน (ในอายุครรภ์ไตรมาสที่ 2 หรือ 3)
  • 2 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน หากเคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาแล้ว 1 ครั้ง
  • 1 เข็ม ระหว่างตั้งครรภ์ หากเคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาแล้ว 2 ครั้ง
  • กระตุ้น 1 เข็ม หากเคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาแล้ว 3 ครั้ง และเกิน 10 ปี
หรือ
  • วัคซีนบาดทะยัก – คอตีบ – ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ ให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 ครั้ง ในอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 และให้ฉีดวัคซีนซ้ำในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าเคยได้รับ Td หรือ Tdap ครั้งสุดท้ายเมื่อใด จุดประสงค์เพื่อป้องกันโรคไอกรนในทารกแรกเกิด พบว่าวัคซีนป้องกันโรคไอกรน สามารถป้องกันโรคในทารกแรกเกิดได้ดีที่สุดในกรณีที่มารดาได้รับการฉีดวัคซีน Tdap ในขณะตั้งครรภ์ หากไม่ได้ฉีดวัคซีน Tdap ขณะตั้งครรภ์แนะนำให้ฉีด Tdap ทันทีหลังคลอด เพราะจะต้องดูแลใกล้ชิดกับทารกเพื่อป้องกันการติดเชื้อไอกรนในทารก และเนื่องจากสาเหตุหลักของการติดเชื้อไอกรนรุนแรงในทารกมาจากมารดาและสมาชิกในบ้านที่ป่วยเป็นโรคไอกรน ดังนั้นแนะนำให้ฉีด Tdap ให้ผู้ใหญ่ในทุกคนในบ้าน ในกรณีที่มีทารกอายุน้อยกว่า 1 ปีในบ้าน (cocooning strategy) โดยไม่ต้องสนใจว่าผู้ใหญ่ได้รับวัคซีน Td ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
ไม่ควรให้วัคซีน: อีสุกอีใส, หัด – คางทูม – หัดเยอรมัน, เอชพีวี, ไข้เลือดออก, งูสวัส ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์  

ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคหัวใจ เบาหวาน ปอด (COPD) ไต

วัคซีนแนะนำ
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีด 1 เข็ม ทุกปี
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ฉีด 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด)
  • วัคซีนบาดทะยัก – คอตีบ ฉีดกระตุ้น 1 เข็มด้วย Td ทุก 10 ปี (เช่น อายุ 20, 30, 40…ปี)
  • วัคซีน IPD นิวโมคอคคัส ชนิดโพลีแซคคาไรด์ (PPV – 23 vaccine) ฉีด 1 เข็ม (กรณีผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีที่เคยได้รับ PPV – 23 เข็มแรกก่อนอายุ 65 ปี ให้กระตุ้นอีก 1 เข็ม หลังจากฉีดเข็มแรก 5 ปี)
หรือ
  • วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต (PCV – 13 vaccine) ฉีด 1 เข็ม
วัคซีนที่อาจพิจารณาฉีด
  • วัคซีนบาดทะยัก – คอตีบ – ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ ให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคเพียงพอ เพื่อลดอุบัติการณ์ของโรคไอกรนในผู้ใหญ่ และส่งผลในการลดการแพร่เชื้อจากผู้ใหญ่สู่เด็กเล็ก ซึ่งเด็กเล็กมีอัตราป่วยตายสูงเมื่อป่วยเป็นโรค
 

อาการข้างเคียงและการดูแลหลังจากได้รับวัคซีน

  • วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความปลอดภัยสูง แต่ยังคงพบอาการข้างเคียงได้บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่รุนแรงและยอมรับได้ และจะหายไปในระยะเวลา 2 – 3 วัน
  • อาการข้างเคียงของวัคซีนมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของวัคซีน ซึ่งวัคซีนเชื้อตาย มักทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้เร็วหลังได้รับวัคซีน โดยเฉพาะเรื่องไข้ ส่วนวัคซีนเชื้อเป็นมักมีอาการคล้ายเคียงกับอาการของโรคนั้น ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนักและอาการมักเกิดขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้วหลายวัน อาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. อาการเฉพาะที่ เช่น อาการปวด บวมแดง เจ็บ คันบริเวณที่ฉีด เป็นต้น 2. อาการทั่วไป เช่น อาการไข้ อ่อนเพลีย ผื่น เป็นต้น
  • การรักษาอาการข้างเคียงอาจทำได้โดยการประคบด้วยน้ำอุ่นบริเวณที่บวม ซึ่งจะช่วยให้ทุเลาลง หรืออาจให้ยาแก้ปวดลดไข้ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ในกรณีที่อาการรุนแรง หรือไม่ดีขึ้นภายใน 2 – 3 วัน
  อ้างอิง : สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (Recommended Adult and Elderly Immunization Schedule) —————————————————————————————————————- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือทำนัดหมาย กรุณาติดต่อ : ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ ชั้น 1 โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน โทร. 032-616-805